โครงสร้างการจัด

โครงสร้างการจัดหน่วย  

 

การบริหารจัดการในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร แบ่งเป็น 4 ฝ่าย ประกอบด้วย

1. ฝ่ายบริหาร
ได้แก่ ผู้บังคับบัญชารับผิดชดชอบดำเนินงานของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประกอบด้วย

 

     1)  ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

     2)  รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
     3)  ผู้้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
     4)  รองผู้้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (1)
     5)  รองผู้้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (2)

2.  ฝ่ายนโยบายและแผน 


การกำหนดนโยบายการศึกษาและแผนการศึกษา เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการ 2 ชุด คือ


2.1  สภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (สภา วปอ.) ตามระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรสถาบันป้องกันประเทศ ( ฉบับ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดหน้าที่ของสภา วปอ. ดังนี้
(1)  การกำหนดนโยบายในการประศาสน์วิทยาการ
(2)  การอนุมัติโครงการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาต่าง ๆ ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันป้องกันประเทศ
(3)  การกำหนดจำนวน คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษาในแต่ละหลักสูตรการศึกษา ตลอดจนการให้ความเห็นชอบในตัวบุคคลที่จะเข้าศึกษา
(4)  การอนุมัติปริญญา ปริญญากิตติมศักดิ์ และวุฒิการศึกษาของหลักสูตรการศึกษาต่าง ๆ ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันป้องกันประเทศ
(5)  การเสนอแนะการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ
(6)  การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
(7)  การตั้งรวมและยุบเลิกสถาบัน ศูนย์หรือหน่วยขึ้นตรงวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
(8)  เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
 

 

1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
2. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นรองประธาน
3. เสนาธิการทหาร  เป็นกรรมการ
4. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 
(ตามที่ได้ตกลงกับสำนักนายกรัฐมนตรี) 
เป็นกรรมการ
5. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(ตามที่ได้ตกลงกับสำนักนายกรัฐมนตรี)
เป็นกรรมการ
6. ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  เป็นกรรมการ
7. ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  เป็นกรรมการ
8. รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
(ทำหน้าที่ด้านการบริหาร)
เป็นกรรมการ
9. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานสภา วปอ. แต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 9 คน 
โดยให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปีการศึกษา
เป็นกรรมการ
10. รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
(ทำหน้าที่ด้านวิชาการ)
เป็นกรรมการและเลขานุการ
11. ผู้อำนวยการกองพัฒนาการศึกษา วปอ.สปท. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

 

2.2 คณะกรรมการการศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องประเทศ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1)  พิจารณาและจัดทำโครงการศึกษาและหลักสูตรการศึกษา รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ให้เป็นไปตามนโยบายของสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
(2)  กำกับดูแลการบริหารการศึกษาของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ให้เป็นไปตามที่สภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรได้มอบหมาย
(3)  พิจารณาจัดทำรายละเอียดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา การคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษา ระยะเวลาศึกษา ตลอดจนคุณวุฒิ ศักดิ์และสิทธิ์ และหลักสูตรการศึกษาของหลักสูตรอื่น ๆ เสนอสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เพื่ออนุมัติตามความเหมาะสมของหลักสูตรนั้น ๆ
(4)  เสนอแนะการแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิ 
 

คณะกรรมการการศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร   สถาบันวิชาการป้องประเทศ
ประกอบด้วย

 

1. ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็นประธานกรรมการ
2. รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็นรองประธานกรรมการ
3. ผู้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็นรองประธานกรรมการ
4. รองผู้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (1) เป็นรองประธานกรรมการ
5. รองผู้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (2)  
6. ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความมั่นคง สำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  เป็นกรรมการ
7. ผู้อำนวยการกองการเมืองและการทหาร สำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชแะลอาณาจักร  เป็นกรรมการ
8. ผู้อำนวยการกองการเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา สำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร   เป็นกรรมการ
9. ผู้อำนวยการกองการเมืองและการทหาร สำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นกรรมการ
10. ผู้อำนวยการกองวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร    เป็นกรรมการ
11. ผู้อำนวยการกองอำนวยการ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  เป็นกรรมการ 
12. ผู้อำนวยการกองเอกสารวิจัย วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นกรรมการ
13. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประธานกรรมการการศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 6 คน
โดยมีวาระอยู่ในตำแหน่ง คราวละ 1 ปีการศึกษา
เป็นกรรมการ
14.  ผู้อำนวยการกองพัฒนาการศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  เป็นกรรมการและเลขานุการ
15. รองผู้อำนวยการกองพัฒนาการศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร    เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

 

3. ฝ่ายอำนวยการ

หน่วยงานระดับกองที่มีหน้าที่อำนวยการศึกษาและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายที่ที่กำหนดไว้  ประกอบด้วย

1)  กองอำนวยการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป การธุรการเกี่ยวกับการศึกษา และอุปกรณ์การศึกษา การห้องสมุด การสารบรรณ การรักษาความปลอดภัย การกำลังพล การบริการ และการเงินของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

2) กองพัฒนาการศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบ และประสานในเรื่องของการวางแผน การจัดการ และการบริหารในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวกับการศึกษา ตลอดจนการประสานงานกับนักศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการศึกษาของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

4. ฝ่ายวิชาการ

หน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานทางด้านวิชาการในสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วยกองวิชาการที่จัดตั้งตามอัตรา 5 กอง คือ



1)  กองยุทธศาสตร์ และความมั่นคง (กย.) มีหน้าที่ มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับศิลป์และศาสตร์ในการพัฒนา และการใช้พลังของชาติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และกำลังทหาร ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม รวมทั้งประมวลความคิดเห็นของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านยุทธศาสตร์

2)  กองการเมืองและการทหาร (กมท.)มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับสภาพทางการเมือง  สนธิสัญญาต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตลอดจนนโยบายและพลังทางการเมืองของประเทศไทยและของต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านการเมือง  และมีหน้าที่ ให้การศึกษาเกี่ยวกับขีดความสามารถทางการทหาร นโยบายการทหาร ยุทธศาสตร์ และพลังทางทหารทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางการทหารของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านการทหาร

3)  กองการเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา (กศส.) มีหน้าที่ ให้การศึกษาเกี่ยวกับขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ และพลังทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางการเศรษฐกิจของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาตินอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านเศรษฐกิจ และ มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับภาวะทางสังคมและจิตวิทยา ความสัมพันธ์ และพลังทางสังคมจิตวิทยาของประเทศไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางการสังคมจิตวิทยาของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาตินอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านสังคมจิตวิทยา

4)  กองวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (กวท.) มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับภาวะทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์และพลังอำนาจทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพลังงานและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา เพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีฯ

5)  กองเอกสารวิจัย และห้องสมุด (กอส.) มีหน้าที่ให้การศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวกับการเขียนเอกสารวิจัยส่วนบุคคล กำหนดขั้นตอน รายละเอียด รูปแบบการอ้างอิง และหลักเกณฑ์การพิจารณาที่เกี่ยวกับการเขียนเอกสารวิจัยส่วนบุคคล ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำชื่อเรื่อง เค้าโครงเรื่อง และในการดำเนินการวิจัย ประสานหน่วยงายภายนอกเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องเพื่อการวิจัย และข้อมูลการวิจัย ตรวจแก้ และแจกจ่ายเอกสารวิจัยฯ ประเมินการเขียนเอกสารวิจัยฯและให้บริการข้อมูลสารสนเทศ
 

 

................................................

Visitors: 415,196